หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชนิดของ port

FireWire
หรือที่นักวิชาการเรียกว่า IEEE1394 High Performance Serial Bus มีลักษณะรูปร่างหน้าตาและลักษณะการใช้งานคล้าย USB มาก แต่ FireWire สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า USB มาก (ปัจจุบันมี Data Transfer Rate 400 Mbps) และ FireWire มีจุดใช้งานหลักอยู่บนเครื่อง Macintosh ซึ่งในปัจจุบันมี mainboard ของ PC ทั่วไปที่มี port FireWire มาให้บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่นิยมกัน เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง และอุปกรณ์สนับสนุนส่วนใหญ่ยังเป็นของ Macintosh

วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
• พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา)
• พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น
• สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก

พอร์ตขนาน (Pararell Port)
หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
• พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต)
• พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น
• สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย
• การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม

พอร์ตยูเอสบี (USB Port)
พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
• คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
• เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
• พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
• สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
• เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
• การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่

พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ดนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพง ไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดยพอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่น ช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊กสีเขียว ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊กแต่ละตัว แต่จะมีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของพอร์ตขนาน (Parallel Port)

แวะมาทักทาย ณ๊ ^^
รู้ความหมายของพอร์ตขนาน (Parallel Port) กันไหมเอย ???..

             พอร์ตขนาน (Parallel Port) คือพอร์ตที่ใช้รับส่งข้อมูลหลายๆ บิตพร้อมๆ กัน ซึ่งจะพบในเครื่อง PC ทุกๆ เครื่องที่เป็นแบบ IBM แต่เราอาจพบพอร์ตแบบอื่น เช่น SCSI,USB และ IrDA แต่พอร์ตขนานก็ยังคงเป็นที่นิยมอยู่เพราะมีความสามารถ,มีความยืดยุ่นต่อการ ใช้งานและมีใน PC แทบทุกเครื่อง...



วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ IDE ( IDE Controller Port )

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ IDE ( IDE Controller Port )

       IDE ย่อมาจาก Integrated Drive Electronic หรืออาจจะเรียกว่า ATA (AT Aktachment) ก็ได้ IDE เป็นตัวควบคุมแบบที่ใช้กันมานาน โดยมีขั้วต่อที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์แบบ IDE เช่น ฮาร์ดดิสก์ และ ซีดีรอม แต่เดิมในเมนบอร์ดที่เป็นแบบ AT นั้น คอนโทรลเลอร์ IDE จะเป็นการ์ดที่เราต้องเสียบเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง แต่ปัจจุบันเมนบอร์ดจะมีคอนโทรลเลอร์ IDE ติดตั้งมาให้เลย โดยจะมี 2 ชุด เรียกว่า IDE1 และ IDE2 ซึ่งในแต่ละชุดจะมีจำนวนขาสัญญาณ 40 ขา บางเมนบอร์ดอาจจะมีเพิ่มมาอีก 2 ชุด ซึ่งมักจะต่อแบบ RAID ได้ด้วย